{{filterHeaderText(selectedPickupStoreHeader)}}

{{filterHeaderText(defaultStore.storeName)}}

เลือกสาขา

เปลี่ยน

เลือกสาขา

คุณได้รับส่วนลด SOP ในเดือนนี้

จัดการสินค้า SOP

คุณมี SOP ที่ยังไม่ได้ซื้อ

จัดการสินค้า SOP

ผลการค้นหา
{{product.displayName}} {{product.name}}
{{product.bundleABOPriceRange}}
{{product.variantABOPriceRange}}
{{product.aboPriceValue | formatPrice}}
brand-V2-BrandsCol1NutriliteNavNode
brand-navnode_000ZQMO8
brand-V2-BrandsColByNutriliteNavNode
brand-navnode_000ZQPRC
brand-V2-BrandsCol1ArtistryNavNode
brand-navnode_000ZQRAW
brand-V2-BrandsCol1AtomosphereNavNode
brand-V2-BrandsCol1EspringNavNode
brand-V2-BrandsCol1GllisterNavNode
brand-V2-BrandsCol1GHNavNode
brand-V2-BrandsCol1SatiniqueNavNode
brand-navnode_000ZQNG0
brand-V2-BrandsCol1XSEnergyNavNode
brand-V2-BrandsCol1AmwayHomeNavNode
brand-V2-BrandsCol1NutriplantNavNode
สมัครเป็นครอบครัวแอมเวย์วันนี้
พร้อมรับส่วนลดและโปรโมชันสุดพิเศษมากมาย
ประหยัดกว่า ซื้อสินค้าราคาสมาชิก
และสนุกกับการสะสมคะแนน A Point
รับเงินคืนสูงสุด 21% จากยอดสั่งซื้อทุกเดือน
พร้อมสิทธิพิเศษ เฉพาะนักธุรกิจเท่านั้น
กรุณาเตรียมบัตรประชาชนเพื่อใช้ในการสมัคร

กรดคลอโรจีนิค จากสารสกัดเมล็ดกาแฟสดที่ไม่ผ่านการคั่ว

กรดคลอโรจีนิค
จากสารสกัดเมล็ดกาแฟสด
ที่ไม่ผ่านการคั่ว

ที่มีส่วนช่วยในการลดไขมันในร่างกาย

เมล็ดกาแฟสดที่ไม่ผ่านการคั่ว

เมล็ดกาแฟดิบ หรือเมล็ดกาแฟสดที่ไม่ผ่านกระบวนการคั่ว (Green Coffee Bean) เป็นแหล่งของสารอาหาร และสารสำคัญต่างๆ ได้แก่คาร์โบไฮเดรต (59-61%) ไขมัน (11-17%) โปรตีน (10-16%) สารประกอบฟีนอล (6-10%) ที่ประกอบด้วย กรดคลอโรจีนิก (Chlorogenic Acid; CGA) (3.40-7.24%) เกลือแร่ (4%) กรดไขมัน (2%) Methylxanthines (caffeine) (1-2%) Trigonelline (1%) และ Amino acid (<1%)3,4

ขณะที่เมล็ดกาแฟที่ผ่านกระบวนการคั่วจะพบปริมาณสารอาหาร และสารสำคัญในปริมาณที่แตกต่างกัน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต (38-42%) ไขมัน (11-17%) โปรตีน (8-14%) สารประกอบฟีนอล (3-4%) เกลือแร่ (5%) กรดไขมัน (3%) Methylxanthines (Caffeine) (1-2%) และ Trigonelline (1%)

จะเห็นได้ว่าเมื่อเมล็ดกาแฟผ่านกระบวนการคั่ว จะมีผลให้ลดปริมาณ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน กรดอะมิโน และ สารประกอบฟีนอล นอกจากนี้สปีชีส์ของกาแฟ และกรรมวิธีการผลิตมีผลต่อสัดส่วนของสารอาหาร และสารสำคัญที่พบได้4

สารสกัดจากเมล็ดกาแฟสดที่ไม่ผ่านการคั่ว (Green Coffee Bean Extract) ตัวช่วยสำคัญในกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย

จากคุณสมบัติ และสารสำคัญของสารสกัดเมล็ดกาแฟดิบที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปคุณสมบัติของสารสกัดเมล็ดกาแฟดิบได้ดังนี้

ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลทั้งหมด (total cholesterol) และลดคอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL Cholesterol) ในเลือด8

ช่วยลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด (fasting blood glucose)9

ช่วยลดความดันโลหิต10

*ทั้งนี้คุณสมบัติในการควบคุมน้ำหนักของสารสกัดจากเมล็ดกาแฟดิบ มีการศึกษาคุณสมบัติดังกล่าวเป็นจำนวนมาก แสดงผลทั้งสามารถควบคุมน้ำหนักได้ และไม่สามารถควบคุมได้ แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันถึงคุณสมบัติดังกล่าวอย่างชัดเจน หรือมีนัยสำคัญทางสถิติ5,11

คุณประโยชน์ของกรดคลอโรจีนิค (Chlorogenic Acid - CGA)

1. ช่วยยับยั้งการดูดซึมของไขมัน12,13

จากการศึกษาในสัตว์ทดลองจึงคาดว่าช่วยลดการสะสมของไขมันในร่างกาย

2. ช่วยเพิ่มการเผาผลาญของไขมันในตับ12,13

จากการศึกษาในสัตว์ทดลองจึงคาดว่าส่งผลให้นำไขมันไปใช้เป็นพลังงานได้ดีขึ้น

3. ช่วยลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ในคนที่มีน้ำหนักเกิน14

จากการศึกษาในสัตว์ทดลองจึงคาดว่าส่งผลให้นำไขมันไปใช้เป็นพลังงานได้ดีขึ้น

สารสกัดที่ได้จากเมล็ดกาแฟสดที่ไม่ผ่านการคั่ว (Green Coffee Bean Extract) จะมีปริมาณคาเฟอีนอยู่น้อยมาก และมีปริมาณคาเฟอีนน้อยกว่ากาแฟที่ผ่านการคั่วแล้ว เนื่องจากกระบวนการคั่วมีผลต่อปริมาณคาเฟอีนในเมล็ดกาแฟ จึงเป็นหนึ่งตัวช่วยที่น่าสนใจ ในการควบคุมน้ำหนัก ระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด

และอย่าลืม! ควรเพิ่มการออกกำลังกายให้มากขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้เพิ่มการเผาผลาญ และช่วยให้มีสุขภาพดีอีกด้วย

อ้างอิง

1. Stefanello N, Spanevello RM, Passamonti S, Porciuncula L, Bonan CD, Olabiyi AA, et al. Coffee, caffeine, chlorogenic acid, and the purinergic system. Food Chem Toxicol. 2019;123:298-313.

2. Kiattisin K, Nantarat T, Leelapornpisid. Evaluation of antioxidant and anti-tyrosinase activities as well as stability of green and roasted coffee bean extracts from Coffea arabica and Coffea canephora grown in Thailand. J Pharmacognosy Phytother. 2016;8(10):182-92.

3. Shahmohammadi HA, Hosseini SA, Hajiani E,Malehi AS, Alipour M. Effects of Green Coffee Bean Extract Supplementation on Patients with Non-Alcoholic Fatty Liver Disease: A Randomized Clinical Trial. Hepar Mon. 2017;17(4):1-9.

4. Hu AL, Wang X, Zhang L, Qiu MH. The sources and mechanisms of bioactive ingredients in coffee. Food Funct. 2019;10:3113-26.

5. Buchanan R, Beckett RD. Green coffee for pharmacological weight loss. J Evid Based Complementary Altern Med. 2013;18(4):309-13.

6. Rio DD, Stalmach A, Calani L, Crozier A. Bioavailability of coffee chlorogenic acids and green tea favan-3-ols. Nutrients. 2010;2:820-33.

7. Thom E. The Effect of chlorogenic acid enriched coffee on glucose absorption in healthy volunteers and its effect on body mass when used long-term in overweight and obese people. J Int Med Res. 2007;35(6):900-8.

8. Ding F, Ma B, Nazary-Vannani A, Kord-Varkaneh H, Fatahi S, Papageorgiou M, et al. The effects of green coffee bean extract supplementation on lipid profile in humans: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Nutr Metab Cardiovasc Dis. 2019;30:1-10.

9. Nikpayam O, Najafi M, Ghaffari S, Jafarabadi MA, Sohrab G, Roshanravan N. Effects of green coffee extract on fasting blood glucose, insulin concentration and homeostatic model assessment of insulin resistance (HOMA‑IR): a systematic review and meta‑analysis of interventional studies. Diabetol Metab Syndr. 2019;11(91):1-8.

10. Han B, Nazary-Vannani A, Talaei S, Clark CCT, Rahmani J, Rasekhmagham R, et al. The effect of green coffee extract supplementation on blood pressure: A systematic review and meta‐analysis of randomized controlled trials. Phytother Res. 2019;33:2918-26.

11. Onakpoya I, Terry R, Ernst E. The use of green coffee extract as a weight loss supplement: A systematic review and meta-analysis of randomised clinical trials. Gastroenterol Res Pract. 2011:1-6.

12. Meng S, Cao J, Feng Q, Peng J, Hu Y. Roles of chlorogenic acid on regulating glucose and lipids metabolism: A review. Evid Based Complement Alternat Med. 2013:1-11.

13. Shimoda H, Seki E, Aitani M. Inhibitory effect of green coffee bean extract on fat accumulation and body weight gain in mice. BMC Complement Altern Med. 2006;6(9):1-9.

14. Dijk AE, Olthof MR, Meeuse JC, Seebus E, Heine RJ, Dam RM. Acute effects of decaffeinated coffee and the major coffee components chlorogenic acid and trigonelline on glucose tolerance. Diabetes care. 2009;32(9):1023-5.

คัดลอกลิงก์สำเร็จ !