{{filterHeaderText(selectedPickupStoreHeader)}}

{{filterHeaderText(defaultStore.storeName)}}

เลือกสาขา

เปลี่ยน

เลือกสาขา

คุณได้รับส่วนลด SOP ในเดือนนี้

จัดการสินค้า SOP

คุณมี SOP ที่ยังไม่ได้ซื้อ

จัดการสินค้า SOP

ผลการค้นหา
{{product.displayName}} {{product.name}}
{{product.bundleABOPriceRange}}
{{product.variantABOPriceRange}}
{{product.aboPriceValue | formatPrice}}
brand-V2-BrandsCol1NutriliteNavNode
brand-navnode_000ZQMO8
brand-V2-BrandsColByNutriliteNavNode
brand-navnode_000ZQPRC
brand-V2-BrandsCol1ArtistryNavNode
brand-navnode_000ZQRAW
brand-V2-BrandsCol1AtomosphereNavNode
brand-V2-BrandsCol1EspringNavNode
brand-V2-BrandsCol1GllisterNavNode
brand-V2-BrandsCol1GHNavNode
brand-V2-BrandsCol1SatiniqueNavNode
brand-navnode_000ZQNG0
brand-V2-BrandsCol1XSEnergyNavNode
brand-V2-BrandsCol1AmwayHomeNavNode
brand-V2-BrandsCol1NutriplantNavNode
สมัครเป็นครอบครัวแอมเวย์วันนี้
พร้อมรับส่วนลดและโปรโมชันสุดพิเศษมากมาย
ประหยัดกว่า ซื้อสินค้าราคาสมาชิก
และสนุกกับการสะสมคะแนน A Point
รับเงินคืนสูงสุด 21% จากยอดสั่งซื้อทุกเดือน
พร้อมสิทธิพิเศษ เฉพาะนักธุรกิจเท่านั้น
กรุณาเตรียมบัตรประชาชนเพื่อใช้ในการสมัคร

ลดน้ำหนักทั้งที ลดให้ถูกวิธี

เมื่อพูดถึงอาหารที่ควรเลือกรับประทานในช่วงลดน้ำหนัก เชื่อว่าส่วนใหญ่คิดว่าต้องลดโปรตีน ลดแป้ง งดไขมันทุกชนิด เน้นแต่ผักผลไม้ ซึ่งนับว่าเป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร แถมน้ำหนักที่ลดส่วนใหญ่เป็นน้ำไม่ใช่ไขมัน แต่หลายคนก็ยังคงเชื่อและทำตาม สุดท้ายผลก็คือ การเกิดโยโย่หรือกลับมาอ้วนกว่าเดิม! แบบนี้เราควรกินอาหารประเภทใด?

รับประทานอาหารที่มีโปรตีน

ควรเลือกโปรตีนที่เหมาะกับการลดน้ำหนัก โดยเฉพาะโปรตีนที่มีไขมันน้อย เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ส่วนไม่ติดหนัง เนื้อสันนอกไม่ติดมัน ซี่โครงหมู แต่สำหรับผู้รักสุขภาพอย่างยิ่งยวด โปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ถั่วพี เป็นต้น และเป็นอีกแหล่งที่ให้ทั้งโปรตีนที่ร่างกายต้องการและยังให้สารไฟโตนิวเทรียนท์ที่ส่งเสริมสุขภาพโดยรวม ทั้งยังช่วยให้เราได้รับโปรตีนที่มีไขมันน้อยอีกด้วย

ข้าวกล้อง หรือขนมปังโฮลวีท

เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ควรกินมากกว่าข้าวขาวหรือขนมปังขาว เพราะแป้งในข้าวกล้องถือเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ร่างกายจะค่อยๆ ย่อยและดูดซึมอย่างช้าๆ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับสม่ำเสมอ ทั้งยังให้พลังงานต่ำ จึงช่วยรักษาน้ำหนักตัวไม่อ้วน

ผักและผลไม้ช่วยลดน้ำหนักได้ดี

ผักและผลไม้มีวิตามินเป็นตัวช่วยในกระบวนการสร้างพลังงานและการเผาผลาญ รวมไปถึงมีเกลือแร่ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้เลยในการดูแลรูปร่างและการควบคุมน้ำหนัก

ไขมันดี

ไขมันดีทำหน้าที่ช่วยลดการสะสมคอเลสเตอรอล ลดไตรกลีเซอไรด์ และลดไขมันเลวในหลอดเลือด ไขมันดีในกลุ่มนี้ เช่น ไขมันไม่อิ่มตัว กรดไขมันโอเมก้า-3 จากปลาทะเล หรือจากพืชบางชนิด เช่น เมล็ดเชีย เมล็ดแฟล็ก ถั่วดาวอินคา น้ำมันมะกอก เป็นต้น

เลือกรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง

ให้เลือกรับประทานอาหารที่มีปริมาณใยอาหารหรือไฟเบอร์สูง ทุกมื้อควรจะมีอาหารประเภทนี้ประกอบอยู่ด้วย เนื่องจากไฟเบอร์จะช่วยให้รู้สึกอิ่มนาน อยู่ท้อง ทำให้ไม่หิวบ่อยเมื่อเทียบกับอาหารชนิดอื่น

นอกจากนี้ นิวทริไลท์ยังได้ออกแบบโปรแกรมลดน้ำหนักเฉพาะบุคคลที่เน้นลดน้ำหนักแบบสุขภาพดี ไม่หักโหม ลดได้จริง ไม่กลับมาโยโย่ ทั้งรูปแบบการออกกำลังกาย แผนโภชนาการ และผลิตภัณฑ์ควบคุมน้ำหนัก โดยออกแบบมาเป็นชุดที่ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อให้ได้สารอาหารหลัก ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน อีกทั้งยังได้รับวิตามินและเกลือแร่ชนิดต่างๆ ที่เหมาะสมต่อ 1 มื้อ

ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารดียังไง?

ทำความรู้จัก Low carb VS Low fat

เนื่องจากพันธุกรรมในร่างกาย มีผลต่อการเผาผลาญและการย่อยอาหาร ทำให้เราสามารถแบ่งคนจากการย่อยและดูดซึมสารอาหาร ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

เลือกอาหาร low carb หรือ low fat ให้ตรงเฉพาะกับตัวเอง

ผู้ที่ไวต่อคาร์โบไฮเดรตควรเลือกควบคุมน้ำหนักด้วยอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ เพื่อช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดและลดการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ตัวเร่งการสะสมไขมันในร่างกาย ส่วนผู้ที่ไวต่อไขมันควรเลือกควบคุมน้ำหนักด้วยอาหารไขมันต่ำเพื่อควบคุมระดับไขมันในเลือด ภาวะที่จะนำไปสู่ไขมันสะสมในร่างกายและหลอดเลือด

ข้อมูลอ้างอิง

  1. รายงานสถานการณ์โรค NCDs, เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562, กลุ่มเทคโนโลยี ระบาดวิทยา และมาตรการชุมชน กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  2. World Health Organization media care. Obesity and overweight Fact sheet [Online]. 2015 [cited 2015 Apr 17]. Available from: http://www.who.int/mediacentre/ factsheets/fs311/en/
  3. Christoffer C, et al. Will the COVID-19 pandemic worsen the obesity epidemic?, Nature Reviews Endocrinology, vol 16, pages 469–470 (2020).
  4. แพทย์หญิงณิชา สมหล่อ, การดูแลผู้ป่วยโรคอ้วนในเวชปฏิบัติ, หน่วยโภชนาการคลินิก, ฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์.
  5. NHLBI Obesity Education Initiative.The Practical Guide : Identification,Evaluation, and Treatment of Overweight and Obesity in Adults [Online]. 2000 [cited 2015 Apr 17]. Available from: http://www.nhlbi.nih.gov/files/docs/guidelines/prctgd_c.pdf
  6. Kushner R. Clinical Management of the Obese Individual. In: Kushner R, Lawarence V, Kumar S, editors. Practical Manual of Clinical Obesity: Wiley-Blackwell; 2013. p. 51-108.
  7. Keesey ER, Hirvonen DM. Body Weight Set-Points: Determination and Adjustment. J. Nutr. 127: 1875S–1883S, 1997.
  8. Robert H Shmerling. Why it’s so hard to lose excess weight and keep it off: The Biggest Losers’ experience. March 12, 2018. (https://www.health.harvard.edu/blog/why-its-so-hard-to-lose-excess-weight-and-keep-it-off-the-biggest-losers-experience-2018031213396)
  9. Katherine D McManus. 10 behaviors for healthy weight loss. October 24, 2018. (https://www.health.harvard.edu/blog/10-behaviors-for-healthy-weight-loss-2018102415074)
คัดลอกลิงก์สำเร็จ !