{{filterHeaderText(selectedPickupStoreHeader)}}

{{filterHeaderText(defaultStore.storeName)}}

เลือกสาขา

เปลี่ยน

เลือกสาขา

คุณได้รับส่วนลด SOP ในเดือนนี้

จัดการสินค้า SOP

คุณมี SOP ที่ยังไม่ได้ซื้อ

จัดการสินค้า SOP

ผลการค้นหา
{{product.displayName}} {{product.name}}
{{product.bundleABOPriceRange}}
{{product.variantABOPriceRange}}
{{product.aboPriceValue | formatPrice}}
brand-V2-BrandsCol1NutriliteNavNode
brand-navnode_000ZQMO8
brand-V2-BrandsColByNutriliteNavNode
brand-navnode_000ZQPRC
brand-V2-BrandsCol1ArtistryNavNode
brand-navnode_000ZQRAW
brand-V2-BrandsCol1AtomosphereNavNode
brand-V2-BrandsCol1EspringNavNode
brand-V2-BrandsCol1GllisterNavNode
brand-V2-BrandsCol1GHNavNode
brand-V2-BrandsCol1SatiniqueNavNode
brand-navnode_000ZQNG0
brand-V2-BrandsCol1XSEnergyNavNode
brand-V2-BrandsCol1AmwayHomeNavNode
brand-V2-BrandsCol1NutriplantNavNode
สมัครเป็นครอบครัวแอมเวย์วันนี้
พร้อมรับส่วนลดและโปรโมชันสุดพิเศษมากมาย
ประหยัดกว่า ซื้อสินค้าราคาสมาชิก
และสนุกกับการสะสมคะแนน A Point
รับเงินคืนสูงสุด 21% จากยอดสั่งซื้อทุกเดือน
พร้อมสิทธิพิเศษ เฉพาะนักธุรกิจเท่านั้น
กรุณาเตรียมบัตรประชาชนเพื่อใช้ในการสมัคร

โพรไบโอติกคืออะไร? เรื่องที่คนรักสุขภาพต้องรู้!

โพรไบโอติกคืออะไร?

โพรไบโอติก คือจุลินทรีย์มีชีวิตขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในร่างกาย ช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการเกี่ยวกับภาวะในลำไส้ได้ มักพบมากในบริเวณระบบทางเดินอาหาร จุลินทรีย์ชนิดนี้ทนทานต่อกรดและด่าง และนับเป็นจุลินทรีย์ประเภทที่มีประโยชน์ ทำหน้าที่คล้ายกับเกราะที่ยึดเกาะอยู่กับเยื่อบุลำไส้ คอยสร้างสารออกมาช่วยกำจัดจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ ได้ หากมีในปริมาณที่เพียงพอจะมีส่วนช่วยในการดูดซึมสารอาหาร สังเคราะห์วิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย และยังช่วยปรับภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สมดุลได้อีกด้วย

โพรไบโอติก vs พรีไบโอติก เหมือนกันหรือไม่?

โพรไบโอติก vs พรีไบโอติก เหมือนกันหรือไม่?

โพรไบโอติก (Probiotic) คือ

จุลินทรีย์ขนาดเล็ก นับเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ พบได้ในระบบทางเดินอาหาร อีกทั้งยังมีส่วนช่วยรักษาสมดุลในลำไส้ และป้องกันอาการผิดปกติต่างๆ ของลำไส้ได้อีกด้วย

พรีไบโอติก (Prebiotic) คือ

ใยอาหารที่พบมากในหัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วแดง หรือไฟเบอร์ในผัก ผลไม้ต่างๆ ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ แต่เป็นแหล่งอาหารสำคัญของโพรไบโอติก เรียกว่าจุดไหนที่มีพรีไบโอติกเยอะ จุลินทรีย์โพรไบโอติกก็จะเยอะตามไปด้วยนั่นเอง

แม้ว่าชื่อจะแตกต่างกัน แต่ทั้งโพรไบโอติกและพรีไบโอติกนั้นต่างทำงานสนับสนุนซึ่งกันและกัน หากร่างกายมีพรีไบโอติกหรือได้รับพรีไบโอติกจำนวนที่มากพอก็จะไปช่วยส่งเสริมการทำงานของโพรไบโอติกให้มีประสิทธิภาพขึ้นได้

โพรไบโอติก ช่วยอะไร?

โพรไบโอติก ช่วยอะไร?

โพรไบโอติกที่เรารู้จักกันเบื้องต้นนั้น มีคุณสมบัติและประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่

  • • ช่วยกระตุ้นระบบย่อยและระบบขับถ่าย ด้วยแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) จุลินทรีย์ในกลุ่มโพรไบโอติกที่พบได้ตามธรรมชาติโดยเฉพาะบริเวณทางเดินอาหาร
  • • ช่วยกระตุ้นภูมิกันคุ้มกันต่างๆ ในร่างกาย
  • • ช่วยสร้างเอนไซม์ที่กระตุ้นการย่อยอาหาร
  • • ช่วยลดอาการอักเสบต่างๆ เช่น อาการอักเสบในช่องคลอด อาการอักเสบทางเดินปัสสาวะ
  • • ช่วยยับยั้งจุลินทรีย์และเชื้อบางชนิด
ควรกินไฟเบอร์วันละ

ไมโครไบโอม ชุมชนจุลินทรีย์ดูแลทางเดินอาหาร ที่ไม่ควรละเลย

อย่างที่รู้กันไปแล้วว่า หนึ่งในเรื่องสุขภาพที่โพรไบโอติกช่วยดูแล คือเรื่องของการย่อยอาหาร ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร โดยในระบบทางเดินอาหารนั้น อวัยวะสำคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบนี้ ได้แก่ กระเพาะอาหาร ตับอ่อน และตับ

โพรไบโอติกในลำไส้

นอกจากนี้ ในระบบทางเดินอาหารยังมีจุลินทรีย์หลายล้านล้านตัว รวมตัวกันเป็นชุมชนที่เรียกว่า ไมโครไบโอม เข้ามาช่วยให้ร่างกายของเราสามารถแยกแยะจุลินทรีย์ที่ดี และสารต่างๆ ในร่างกายเราอย่างปลอดภัย ส่งผลอย่างมากต่อการย่อยอาหารและภูมิคุ้มกัน โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น จุลินทรีย์ที่ดี และจุลินทรีย์ที่ไม่ดี

จุลินทรีย์ที่ดี

จุลินทรีย์ที่ดี มีหน้าที่สร้างกรด เพิ่มชั้นป้องกันให้กับลำไส้ ช่วยให้การย่อยอาหารทำงานได้ดี อีกทั้งยับยั้งการเติบโตของเชื้อโรคที่มากับทางอาหาร กำจัดจำนวนเชื้อโรคในลำไส้ให้ลดลง

จุลินทรีย์ที่ไม่ดี

จุลินทรีย์ไม่ดี เกิดจากโภชนาการ การบริโภคอาหารที่ไม่ดี รวมไปถึงสภาวะจิตใจ ความเครียด พฤติกรรมการพักผ่อนที่ไ่ม่เพียงพอ ส่งผลให้การทำงานของไมโครไบโอมบกพร่อง มีผลต่อสุขภาพและความแข็งแรงของระบบทางเดินอาหารได้

โพรไบโอติกในลำไส้
โพรไบโอติกไม่สมดุล

เมื่อสูญเสียสมดุลระหว่างจุลินทรีย์ดีและไม่ดี

อาจทำให้ไมโครไบโอมของคุณมีจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ดีมากเกินไป ส่งผลให้มีแก๊สเกิน ท้องอืด และท้องเสีย ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีสำหรับคุณ

ซึ่งการเลือกกินพรีไบโอติกที่ดีนั้น จะช่วยสนับสนุนการทำงานของไมโครไบโอม ทำให้ระบบทางเดินอาหาร และการทำงานของลำไส้ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โพรไบโอติกมีแบบไหนบ้าง?

หลักๆ แล้ว โพรไบโอติกจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ โพรไบโอติกธรรมชาติ และโพรไบโอติกในรูปแบบอาหารเสริม แล้วแตกต่างกันอย่างไร? แบบไหนถึงจะดี? ไปดูกัน

โพรไบโอติกแบบไหนดี

โพรไบโอติกแบบธรรมชาติ

โพรไบโอติกธรรมชาตินั้นสามารถพบได้ทั่วไปจากอาหารในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาหารบางชนิดนั้นเราสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด เช่น

  • • นมเปรี้ยว
  • • โยเกิร์ต
  • • อาหารหมักดอง
  • • ดาร์กช็อคโกแลต
  • • ชีสบางประเภท
  • • เทมเป้
  • • ชาหมัก
  • • ถั่วเน่า
  • • แอปเปิ้ลไซเดอร์
  • • ซุปมิโซะ

โพรไบโอติกแบบอาหารเสริม1

หากคุณต้องการรับโพรไบโอติกในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกายที่จะได้รับในแต่ละวัน การกินโพรไบโอติกแบบอาหารเสริมนับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สะดวก อีกทั้งยังมีหลากหลายรูปแบบให้คุณเลือกสรรได้ตามความต้องการ ไปดูกันว่ามีรูปแบบอะไรบ้างที่น่าสนใจ

โพรไบโอติกแบบผง

โพรไบโอติกแบบผง เป็นโพรไบโอติกที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะปริมาณต่อโดสที่เยอะทำให้ได้รับจุลินทรีย์ในปริมาณที่เหมาะกับความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะคนที่ต้องการจุลินทรีย์สายพันธุ์ Lactobacillus และ Bifidobacterium เป็นหลัก เพราะเป็นสายพันธุ์ที่สามารถทนต่อความเป็นกรดในกระเพาะอาหารได้ดี ข้อควรระวังคือ ต้องนำเจ้าจุลินทรีย์โพรไบโอติกแบบผงไปชงดื่มในน้ำเย็นหรือน้ำอุณหภูมิห้องเท่านั้น เพื่อให้จุลินทรีย์ยังคงประสิทธิภาพเต็มที่ แต่ก็อาจมีบางชนิดที่สามารถกินได้เลยโดยไม่ต้องทำการละลายน้ำก่อน

โพรไบโอติกแบบเม็ด

โพรไบโอติกในรูปแบบเม็ดทานง่าย เหมาะกับการบรรจุจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่ไม่ทนต่อความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร แต่อาจได้รับปริมาณจุลินทรีย์ที่น้อยกว่าแบบผง หากโพรไบโอติกแบบเม็ดนั้นมีขนาดบรรจุที่เล็กกว่า

โพรไบโอติกแบบเยลลี่

โพรไบโอติกแบบนี้ อาจจะเหมาะเป็นอาหารเสริมสำหรับเด็กๆ ที่ไม่ค่อยชอบทานผักผลไม้ นมเปรี้ยว หรือโยเกิร์ต แต่ ณ ปัจจุบัน อาจจะมีแบรนด์ให้เลือกได้อย่างจำกัดในท้องตลาด

จะเห็นได้ว่า มีอาหารเสริมโพรไบโอติกหลากหลายรูปแบบให้เลือกกิน ซึ่งแบบไหนจะดีที่สุดนั้น ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์โพรไบโอติกที่ต้องการได้รับ และปริมาณโพรไบโอติกที่ต้องการ โดยจำนวนโพรไบโอติกมีชีวิตที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันนั้น อยู่ที่ 100-1,000 ล้านตัว ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ จึงมักทำมาในปริมาณที่มากกว่านั้นหลายเท่า เพื่อส่งจุลินทรีย์ให้มีชีวิตรอดไปถึงลำไส้ในปริมาณที่เหมาะสม

1Source: https://www.healthline.com

โพรไบโอติกสายพันธุ์ไหนใช่ที่สุด!

โพรไบโอติกแต่ละสายพันธุ์ ก็ให้ประโยชน์ที่ต่างกันไป การรู้ชื่อและคุณสมบัติของสายพันธุ์จุลินทรีย์ก่อนจะเลือกโพรไบโอติกมาเสริมการทำงานของร่างกายจึงมีความสำคัญมาก นอกจากนี้ ปริมาณที่เหมาะสมของสายพันธุ์ที่ถูกต้องยังเป็นสิ่งสำคัญ ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกที่ดีจึงควรให้ความสำคัญกับคุณภาพมากกว่าปริมาณ

Bifidobacterium animalis ssp. lactis HN019

Bifidobacterium animalis ssp. lactis HN019

  • เป็นจุลินทรีย์ดีของสายพันธุ์โพรไบโอติกที่ทนต่อน้ำดีและกรดทางเดินอาหาร เข้ามาช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในทางเดินอาหารมากยิ่งขึ้น เป็นหนึ่งในสายพันธุ์โพรไบโอติกที่มีการศึกษาและผลทางคลินิกรองรับสูงถึงประโยชน์ในการช่วยระบบย่อยอาหารและทางเดินอาหารโดยรวม
Lactobacillus acidophilus NCFM™

Lactobacillus acidophilus NCFM

  • อีกหนึ่งสายพันธุ์ของโพรไบโอติกที่ได้รับรองจากผลการศึกษาและผลทางคลินิกเรื่องประโยชน์ที่จะช่วยในระบบย่อยและทางเดินอาหาร สายพันธุ์นี้จะเน้นช่วยบรรเทาอาการท้องผู้ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยสูงอายุ
Lactobacillus paracasei Lpc-37

Lactobacillus paracasei Lpc-37

  • เป็นสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่เข้ามาช่วยสนับสนุนจุลินทรีย์ตัว Bifidobacterium animalis ssp. lactis HN019 และ Lactobacillus acidophilus NCFM มีคุณสมบัติทนน้ำดีและกรดในทางเดินอาหารได้ เข้ามาช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น
Lactobacillus acidophilus La-14

Lactobacillus acidophilus La-14

  • เป็นสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่เข้ามาช่วยสนับสนุนการทำงานและประโยชน์ของจุลินทรีย์ Bifidobacterium lactis HN019 และ Lactobacillus acidophilus NCFM ในลำไส้ ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดียิ่งขึ้น
Bifidobacterium animalis ssp. lactis BI-04

Bifidobacterium animalis ssp. lactis BI-04

  • สายพันธุ์จุลินทรีย์ที่เข้ามาช่วยฟื้นฟูไมโครไบโอมในลำไส้ มีคุณสมบัติยึดเกาะผนังลำไส้อย่างดีเยี่ยม

โพรไบโอติกจะส่งจุลินทรีย์ไปสนับสนุนไมโครไบโอมยังไง?

โพรไบโอติกที่มีชีวิต

ARRIVE ALIVE
เทคโนโลยีนำส่งสิ่งมีชีวิตถึงที่หมาย

ด้วยการคัดเลือกเฉพาะ เพื่อนำจุลินทรีย์ที่มีความแข็งแรง สามารถทนต่อสภาวะในกระเพาะอาหาร เข้าถึงลำไส้ได้ในขณะที่ตัวจุลินทรีย์ยังมีชีวิต ช่วยเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ท้องถิ่นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

โพรไบโอติกยึดเกาะลำไส้

STICK TO THE GUT
ยึดเกาะกับผนังลำไส้

นอกจากทนทานสูงแล้ว จุลินทรีย์ที่คัดเลือกมายังมีความสามารถเกาะผนังลำไส้ได้อย่างดี สามารถเสริมประสิทธิภาพการทำงานของจุลินทรีย์ท้องถิ่นได้อย่างต่อเนื่อง

จุลินทรีย์ดี

GOOD BACTERIA
จุลินทรีย์ดี

ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก คือส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมสมดุลจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ ช่วยส่งเสริมสุขภาพระบบย่อยอาหารและทางเดินอาหารให้แข็งแรง รักษาสุขภาพของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การบริโภคผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกอย่างต่อเนื่องในทุกวันช่วยส่งเสริมการย่อยอาหารและการขับถ่ายที่เป็นปกติสำหรับทุกคนในครอบครัว

กินโพรไบโอติกตอนไหน ให้ได้ผลสูงสุด?

โพรไบโอติก กินตอนไหน

โพรไบโอติกควรกินตอนไหนจึงจะได้รับประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังปลอดภัยมากที่สุด?

โพรไบโอติก กินตอนไหน?2

โพรไบโอติกนั้นควรกินก่อนอาหารเล็กน้อยหรือพร้อมมื้ออาหาร เพื่อให้จุลินทรีย์โพรไบโอติกถูกส่งผ่านไปยังลำไส้ในขณะย่อยอาหาร แต่สิ่งสำคัญกว่าเรื่องเวลาคือความบ่อยครั้งในการรับโพรไบโอติกเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้น ควรเติมจุลินทรีย์โพรไบโอติกให้กับร่างกายในเวลาเดิมทุกๆ วัน เป็นประจำ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ควรกินโพรไบโอติกเยอะแค่ไหนต่อวัน?

ปริมาณที่พอเหมาะสำหรับการกินอาหารเสริมโพรไบโอติกจะอยู่ที่ 100-1,000 ล้านตัวต่อวัน หรือ 5,000 ล้าน CFU ต่อ 1.5 กรัม (หน่วยปริมาณจุลินทรีย์ที่อยู่ในผลิตภัณฑ์บริโภค) เป็นอย่างน้อย ในกรณีที่ได้รับโพรไบโอติกเกินจำนวนหรือมากจนเกินความจำเป็นต่อร่างกายในแต่ละวันก็สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็น เวียนหัว ผื่นคัน แก๊สในกระเพาะอาหาร ดื้อยา เป็นต้น

2Source: https://www.healthline.com

5 วิธีดูแลสุขภาพทางเดินอาหาร

การรักษาสมดุลที่เหมาะสมของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ การย่อยอาหาร สุขภาพลำไส้ และระบบภูมิคุ้มกัน โดยคุณสามารถส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหารได้ดังต่อไปนี้

ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม

ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม

ลดการบริโภคน้ำตาล

ลดการบริโภคน้ำตาล

ผักและผลไม้

เพิ่มผักและผลไม้

เพิ่มใยอาหาร คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน และโปรตีนจากพืช

เพิ่มใยอาหาร คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน และโปรตีนจากพืช

เพิ่มโพรไบโอติก

เพิ่มโพรไบโอติก

การกินโพรไบโอติกนับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ดูแลสุขภาพและผู้รักสุขภาพ เนื่องจากโพรไบโอติกมีคุณประโยชน์มากมายจากที่เกริ่นไว้ในเบื้องต้น อีกทั้งยังส่งผลดีต่อสุขภาพ นอกจากนั้นยังกินง่ายและหาซื้อได้ไม่ยาก แต่ทั้งนี้ก็จะต้องกินในปริมาณที่พอเหมาะและกินในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้จุลินทรีย์โพรไบโอติกได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

คัดลอกลิงก์สำเร็จ !